ทุกอย่างที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI คืออะไร?)

  • 1 ปี ที่ผ่านมา

เมื่อโลกเริ่มฟื้นฟูจากวิกฤติโรคระบาด เหล่านักลงทุนทั่วโลกย่อมเริ่มกลับมามองหาโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทยอีกครั้ง ทั้งนี้การลงทุนเพื่อธุรกิจในประเทศไทยเหล่านักลงทุนต่างประเทศและผู้ประกอบการไทยควรรู้จัก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กระบวนการสมัครและสิทธิประโยชน์ของโครงการ ก่อนที่จะเริ่มการรับแหล่งเงินทุนในระดับนานาชาติ บทความนี้ได้สรุปสาระสำคัญแบบรวบรัดและเข้าใจง่ายสำหรับทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) คือใคร? และเป้าหมายของ BOI คืออะไร?

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทยคือหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบการสนับสนุนการลงทุนของไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ภารกิจของ BOI คือการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อก้าวข้ามสภาะวะกับดักรายได้ปานกลางและสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่ง BOI เป็นผู้ส่งเสริมและดูแลสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในประเทศไทยให้มีการแข่งขันและความน่าดึงดูดนักลงทุนจากทั้งในและนอกประเทศไทย หนึ่งในมาตรการของ BOI เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศคือการสร้างมาตรการจูงใจเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติผ่านการสมัครนักลงทุนเข้าร่วมในมาตรการส่งเสริมการลงทุนผ่านการให้สิทธิประโยชน์ในการทำธุรกิจอย่าง การยกเว้นภาษีหรือโอกาสทางธุรกิจ

สิทธิประโยชน์เพื่อการส่งเสริมการลงทุนมีอะไรบ้าง?

ประเทศไทยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นความอุดมสมบูรณ์ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติหรือความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจ อย่างเช่นในภาคกลางของประเทศไทยที่มีความพร้อมและโดดเด่นในด้าน โครงสร้างและการดำเนินงานระดับอุตสาหกรรมและเหล่าแรงงานที่มีทักษะดี กรุงเทพฯเองก็เป็นแหล่งรวมธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรมและโกดังสินค้า ที่มีความพร้อมและเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติผ่านมาตรการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้สิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุนนั้นสามารถแบ่งได้ ดังนี้:

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย ได้สร้างมาตรการส่งเสริมการลงทุนผ่านการให้สิทธิประโยชน์ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล นานถึง 8 ปี โดยขึ้นกับประเภทกิจการและเงื่อนไขในการยื่นคำขอ นอกจากนั้นแล้วสำหรับนักลงทุนที่ได้มีการดำเนินกิจการหรือลงทุนภายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะได้การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงถึง 50% ต่อจากการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล อีก 5 ปี รวมทั้งหมดแล้ว BOI มีการมอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีนานสูงสุดถึง 13 ปี

นอกเหนือจากการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว ทางผู้ประกอบการและนักลงทุนยังสามารถยื่นขอมาตรการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและอากรขาเข้าวัตถุดิบผลิตเพื่อการส่งออก โดยเป็นการละเว้นค่าอากรนำเข้าเครื่องจักรที่มีความจำเป็นต่อประกอบกิจการและการละเว้นค่าอากรวัตถุดิบผลิตที่จำเป็นต่อการวิจัยและพัฒนาในกิจการ

สิทธิประโยชน์อื่นๆ

นอกจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว BOI ยังมีมาตรการแรงจูงใจผ่านการให้สิทธิประโยชน์อื่นๆในการดำเนินธุรกิจสำหรับนักลงทุนต่างชาติอันเป็น สิทธิประโยชน์เพื่อการดำเนินธุรกิจ .

เช่น การอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิ์การถือหุ้นกิจการ 100% (ยกเว้นกิจการตามบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ) การอนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างดำเนินกิจการในประเทศไทยและการอนุญาตให้ช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้

ใครและกิจการประเภทใดที่สามารถยื่นขอการสนับสนุนการลงทุนจาก BOI?

BOI ได้กำหนดประเภท กลุ่มอุตสาหกรรม 8 กลุ่ม ที่อยู่ในเกณฑ์การให้การสนับสนุนเพื่อการลงทุน โดยมีประเภทต่าง ๆ ดังนี้:

1) ภาคเกษตรกรรม: กิจการที่มีการผลิต ผลผลิตทางเกษตรกรรม เช่น ฟาร์มเกษตร โรงงานผลิตวัตถุดิบเพื่อการเกษตร เช่น โรงงานปุ๋ยอินทรีย์ และ โรงงานปุ๋ยเคมี

2) ภาคอุตสาหกรรมโลหะและวัสดุ: กิจการเหมืองแร่, กิจการโรงงานผลิตเซรามิก, โรงงานแปรรูปโลหะ, กิจการถลุงแร่, กิจการแก้วและซีเมนต์

3) ภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์: เสื้อผ้า, สิ่งทอ, ผลิตภัณฑ์แฟชั่น (กระเป๋า, รองเท้า, อื่นๆ), และความบันเทิง

4) ภาคอุตสาหกรรมเครื่องจักร ยานยนต์: โรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์, กิตการผลิตเครื่องจักรอัตโนมัติ (เช่น เครื่องจักรในการผลิตอะไหล่ ยานยนต์)

5) ภาคอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์: กิจการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์, กิจการผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า, กิจการผู้ผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์

6) ภาคอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์: กิจการพลาสติก, กิจการบรรจุภัณฑ์กระดาษ, กิจการเคมีภัณฑ์, กิจการผลิตพอลิเมอร์, กิจการผลิตทางเภสัชกรรม

7) ภาคอุตสาหกรรมเพื่อสาธารณูปโภค: กิจการผลิตพลังงาน, กิจการพัฒนาพื้นที่สำหรับกิจการอุตสาหกรรม (เช่น การพัฒนาพื้นที่เพื่อโกดังสินค้าและโรงงาน)

8) ภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล: หนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนโดย BOI เช่น กิจการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยี กิจการสตาร์ทอัพ ด้านต่างๆ เช่น นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยี Automation

ยื่นขอรับมาตราการสนับสนุนได้อย่างไร?

การยื่นคำขอเพื่อรับมาตรการส่งเสริมการลงทุน โดย BOI นั้นมีขั้นตอนที่สำคัญที่นักลงทุนจำเป็นต้องรู้ เข้าใจและเตรียมตัวก่อนยื่นคำร้องขอ เพื่อให้กิจการของผู้ยื่นคำร้องนั้นตรงกับเกณฑ์การประเมินเพื่ออนุมัติโครงการโดย BOI ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้:

1. กิจการต้องเป็นกิจการที่ส่งเสริมการแข่งขันในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการบริการในประเทศไทย โดยโครงการที่ยื่นคำร้องจำเป็นต้องสร้างมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 20% ของรายได้ ยกเว้นกิจการเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร กิจการอิเล็กทรอนิกส์ กิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 10% ของรายได้

2. โครงการที่ยื่นคำร้องต้องใช้กรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย

3. โครงการที่ยื่นคำร้องขอต้องเป็นโครงการที่มีการลงทุนใหม่ในเครื่องจักรใหม่ทั้งสายการผลิต หากมีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าเครื่องจักรเก่าในกิจการนอกประเทศไทย มีเกณฑ์การประเมินเพิ่มเติมดังนี้:

3.1. หากมีการยื่นคำร้องในมาตรการการส่งเสริมการลงทุน โครงการที่ยื่น เครื่องจักรที่ใช้แล้วจะถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนได้ ทว่าโครงการที่ยื่นคำร้องจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ในลักษณะนี้ ในกรณีที่ยื่นคำร้องเพื่อซื้อและนำเข้าเครื่องจักรที่ใช้แล้วจะต้องมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ยื่นของโครงการเองจำเป็นต้องยื่นคำร้องขอใบรับรองจากองค์กรการตรวจสอบสภาพเครื่องจักร เพื่อรับรองสภาพ ประสิทธิภาพของเครื่องจักร การใช้พลังงาน รวมไปถึงการสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

3.2. ในกรณีของเครื่องจักรใช้แล้วเกิน 5 ปีแต่ไม่ถึง 10 ปี สามารถยื่นคำร้องเพื่อแสดงเครื่องจักรเป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนได้และสามารถได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาในกรณีของการย้ายพื้นที่การดำเนินงานกิจการ ทั้งนี้โครงการที่ยื่นคำร้องจำเป็นต้องยื่นใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักร ณ วันที่ยื่นบัญชีรายการเครื่องจักร โดย BOI จะนับ 50% มูลค่าของเครื่องจักร เข้าเป็นเงินลงทุนของโครงการ และเหมือนกับกรณีที่ 3.1 ผู้ยื่นของโครงการเองจำเป็นต้องยื่นคำร้องขอใบรับรองจากองค์กรการตรวจสอบสภาพเครื่องจักร เพื่อรับรองสภาพ ประสิทธิภาพของเครื่องจักร การใช้พลังงาน รวมไปถึงการสร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

3.3. ในกรณีของ อุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเลและอากาศ ทาง BOI จะพิจารณาเพื่อการละเว้นอากรนำเข้าและได้รับการประเมินมูลค่าเต็มจำนวนเข้าเป็นเงินลงทุนของโครงการ

4. โครงการที่ยื่นคำร้องจะถูกตรวจสอบสภาพแผนโครงการดำเนินงานกิจการและเงินทุนหมุนเวียนขั้นต่ำ โดยมีเกณฑ์การพิจารณาเพิ่มเติม ดังนี้:

4.1. โครงการที่ยื่นคำร้องจำเป็นต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยอาจมีการยกเว้นเกณฑ์นี้ในกรณีพิเศษหากอยู่ในเกณฑ์การประเมินกรณีพิเศษของ BOI

4.2. สำหรับภาคอุตสาหกรรมบริการ BOI ยอมรับการแสดงผลรวมเงินเดือนประจำปีของพนักงานในธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหมุนเวียน

4.3. โครงการที่ยื่นคำร้องต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 สำหรับโครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยายกิจการจะถูกพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายกรณีไป

4.4. สำหรับโครงการที่ยื่นคำร้องขอรับมาตรการ มีมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 750 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ผู้ยื่นคำร้องขอจะต้องแสดงผลรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน เป็นเอกสารประกอบการยื่นคำร้องเพื่อการอนุมัติโดย BOI

ขั้นตอนของ BOI อาจดูมีการเตรียมการที่หลายขั้นตอนและละเอียดอ่อน ดังนั้นเราจึงทำแผนภาพสรุปขั้นตอนการยื่นขอคำร้องขอมาตรการสนับสนุนการลงทุน เป็นขั้นตอนที่สามารถเช็คตามไปได้ ดังนี้:

สำหรับรายละเอียดการยื่นคำร้องขอมาตรการส่งเสริม, เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

บทสรุป

บทความนี้ได้รวบรวมสาระสำคัญที่ผู้ประกอบการและนักลงทุนควรรู้เกี่ยวกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แห่งประเทศไทย โดย BOI เป็นหนึ่งในองค์กรภาครัฐที่สนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติมาลงทุนในกิจการประเทศไทยผ่านการออกมาตรการสนับสนุนทางภาษีและโอกาสทางธุรกิจ ภายใต้มาตรการสนับสนุนนี้ทางผู้ประกอบการจาก 8 อุตสาหกรรมสามารถยื่นคำร้องขอมาตรการสนับสนุนโดยมีขั้นตอนการยื่นขอรับทั้งหมด 4 ขั้นหลักๆด้วยกัน แม้ว่าในรายละเอียดเชิงลึกการเตรียมเอกสารสำคัญและลำดับเวลาการยื่นคำร้องจะซ้ำซ้อนมากกว่านี้ บทความนี้ได้ช่วยรวบรัดรายละเอียดสำคัญให้เข้าใจง่ายและเหมาะสำหรับการเตรียมการเพื่อเริ่มการลงทุนสำหรับทุกคนเป็นอย่างมาก!

หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย การเช่าโกดังสินค้าหรือโรงงาน สามารถ ติดต่อเรา เพื่อสอบถามเพิ่มเติมได้

เปรียบเทียบรายการ

เปรียบเทียบ