9 สิ่งสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. การจัดตั้งโรงงานในไทย ฉบับแก้ไขใหม่

  • 2 ปี ที่ผ่านมา

ต้องขอใบอนุญาตโรงงานก่อนที่จะเช่าโรงงานในประเทศไทยหรือไม่

สำหรับท่านใด ที่กำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับการ ตั้งโรงงานในไทย หรือกำลังจะเริ่มประกอบกิจการในสายโรงงานวัน วันนี้เรามีความรู้ดีๆ มานำเสนอ เกี่ยวกับเรื่องของ “พระราชบัญญัติโรงงาน ฉบับแก้ไขใหม่” ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 เดือนตุลาคม 2562 เป็นต้นมา จะมีเนื้อหาสาระสำคัญอย่างไรบ้างนั้นตัว พ.ร.บ. ใหม่จะแตกต่างจากเดิมอย่างไรบ้าง วันนี้เราก็ได้ดำเนินการสรุปมาให้เรียบร้อยแล้ว ดังนี้

พ.ร.บ ฉบับใหม่ดีกว่าฉบับเดิมอย่างไร

พ.ร.บ. ตั้งโรงงานในไทย ฉบับแก้ไขใหม่ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้แก่อุตสาหกรรมโรงงาน ดังนั้นทั้งโรงงานขนาดเล็กหรือว่าขนาดใหญ่ ก็จะสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ส่งผลต่อการกำกับดูแลผ่อนคลายในเรื่องของความเข้มงวดด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงต่างๆ 

ขอบเขตของคำว่า “โรงงาน” ของ พ.ร.บ ฉบับใหม่

ขอบเขตได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่ต้องมีเครื่องจักร 5 แรงม้า หรือคนงานจำนวน 7 คน เปลี่ยนเป็น มีเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า หรือคนงานจำนวนมากกว่า 50 คน ดังนั้น หากจำนวนแรงม้าของเครื่องจักรในโรงงานมีแรงม้าน้อยกว่า 50 แรงม้า หรือจำนวนคนงานน้อยกว่า 50 คน ก็ถือว่าไม่เข้าข่ายการเป็นโรงงาน

ประชาชนยังได้รับความคุ้มครองเหมือนเดิม 100%

ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าถึงแม้ว่าตัว พระราชบัญญัติโรงงานฉบับแก้ไขใหม่ จะส่งผลประโยชน์เอื้อต่อกิจการโรงงานให้สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว แต่ในขณะเดียวกันนั้นประชาชนและผู้อยู่อาศัยโดยรอบโรงงาน จะยังคงมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครอง เหมือนเดิมแน่นอน 100%

การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ร.ง.4 ต้องทำอยู่หรือไม่?

ตาม พ.ร.บ ฉบับใหม่ หลักเกณฑ์การขออนุญาตโรงงานในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบกิจการโรงงานทั่วไปหรือผู้ที่ประกอบกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) มีเครื่องจักรไม่ถึง 50 แรงม้าหรือพนักงาน 50 คน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ร.ง.4 ทุกๆ 5 ปีอีกต่อไป

โรงงานที่มีใบอนุญาตอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องขอใหม่

สำหรับโรงงานเดิมที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานอยู่แล้ว และถึงแม้ว่าจะมีการลดจำนวนพนักงาน หรือมีไม่ถึง 50 แรงม้า ตาม พ.ร.บ ฉบับใหม่ ยังคงถือว่าเป็นโรงงานที่ได้รับอนุญาตตาม หลักเกณฑ์การขออนุญาตโรงงานในประเทศไทยจนกว่าจะมีการดำเนินการแจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงาน  

การใช้ผู้ตรวจสอบเอกชนแทนเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ

พ.ร.บ ฉบับใหม่ สามารถให้กิจการโรงงานถูกตรวจสอบได้ผ่านหน่วยงานเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตหรือการรับรองจากที่มีมาตรฐานมีการดำเนินการอย่างถูกต้อง ให้สามารถเข้ามาตรวจสอบได้ ไม่จำเป็นต้องรอหน่วยงานเจ้าหน้าที่ภาครัฐอย่างเดียวอีกต่อไป 

Do I need to apply factory license prior to renting a factory in Thailand? (1)

มาตรฐานของผู้ตรวจสอบจากภาคเอกชน

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่า พ.ร.บ. การจัดตั้งโรงงานในไทย ฉบับแก้ไขใหม่ จะสามารถให้หน่วยงานเอกชนดำเนินการตรวจสอบได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ตรวจสอบเอกชนเองจำเป็นจะต้องมีใบอนุญาตอย่างถูกต้องซึ่งมีเงื่อนไขคือ

  • ผู้ตรวจสอบต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
  • หากไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร ผู้ตรวจสอบจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดังนั้นเราจึงจะสามารถเห็นได้แล้วว่า ถึงแม้ พ.ร.บ. การจัดตั้งโรงงานในไทย ฉบับแก้ไขใหม่ จะมีส่วนช่วยให้การตรวจสอบนั้นรวดเร็วมากยิ่งขึ้นโดยการใช้ ผู้ตรวจสอบจากภาคเอกชน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความเข้มงวดในเรื่องของผู้ตรวจฯ ที่ต้องมีคุณสมบัติ และมีประสบการณ์ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อยังคงรักษามาตรฐาน และความเข้มงวดในเรื่องของความปลอดภัยนั่นเอง

การเพิ่มความเข้มงวดการรับรองตนเอง

พ.ร.บ. การจัดตั้งโรงงานในไทย ฉบับแก้ไขใหม่ มีข้อกำหนดออกมาว่า “ผู้ประกอบกิจการโรงงาน จะต้องได้มีการดำเนินการ Self-declared หรือที่เรียกว่าการรับรองตนเอง ระยะเวลาที่กำหนด” เป็นการแสดงให้เห็นว่ากิจการโรงงานนั้น มีการปฏิบัติการหรือดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย

การขอโอนใบอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นต้องทำอย่างไร?

Factory license example

ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ที่ไม่สามารถดำเนินการได้หลังจากที่ได้รับใบอนุญาตมาแล้ว สามารถดำเนินการโอนใบอนุญาตได้ โดยมีขั้นตอน วิธีการขอใบอนุญาตโรงงานในประเทศไทย การดำเนินการโอนใบอนุญาตและเงื่อนไขดังนี้

  • ผู้ที่จะต้องการจะขอรับใบอนุญาตต่อ จะต้องได้มีการแจ้งประสงค์ขอรับโอนใบอนุญาต ภายในระยะเวลา 30 วัน หลังจากที่มีการโอนใบอนุญาต ให้ซื้อขายหรือเช่าโรงงาน
  • คำขอจะมีสิทธิเป็นผู้รับใบอนุญาต ระหว่างที่กำลังรอพิจารณาอยู่ 
  • เมื่อใดก็ตามที่ได้มีการดำเนินการโอนใบอนุญาต ผู้รับใบอนุญาตเดิมจะไม่มีสิทธิ์ในการให้เช่าหรือซื้อโรงงาน อีกต่อไป
  • ผู้ที่ขอรับโอนใบอนุญาต ได้มีการยื่นคำขอภายใน 30 วัน สามารถดำเนินกิจการของโรงงานต่อได้เลยทันที แม้ว่าจะอยู่ในช่วงรอการพิจารณาอนุญาต ได้ถือว่าผู้ที่ยื่นคำขอนั้นได้กลายเป็นผู้ได้รับอนุญาตแล้ว

โดยสรุปแล้ว พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ ๒) ฉบับแก้ไขใหม่ที่ได้มีการ ใช้มาตั้งแต่ปี 2562 สามารถเอื้อประโยชน์ให้ วิธีการขอใบอนุญาตโรงงานในประเทศไทย สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกสบายและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกันก็ยังคงสามารถควบคุมการดำเนินการของกิจการให้มีความปลอดภัยทั้งต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยสาธารณะ และที่สำคัญคือเรื่องของความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศได้เหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม หากต้องการศึกษาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติโรงงาน ฉบับแก้ไขใหม่เพิ่มเติม ก็สามารถเข้าไปศึกษาได้เลยที่ลิงก์นี้ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0213.PDFซึ่งจะเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ทั้งหมด และสำหรับผู้ที่มีความสนใจต้องการที่จะจัดตั้งโรงงานในประเทศไทย หรือต้องการที่จะเช่าโกดัง ที่มีความเป็นมาตรฐานและความปลอดภัยสูง มีระบบการจัดการที่ดีเยี่ยมด้วย CCTV รอบด้าน มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือสอบถามข้อมูลได้เลย ติดต่อเรา

เปรียบเทียบรายการ

เปรียบเทียบ