...

ผังเมืองประเทศไทยและการแบ่งเขตสี

แบ่งปันบทความนี้

เมื่อคุณเริ่มวางแผนการเช่าโกดังสินค้าหรือโรงงานในประเทศไทย การเลือกที่ดินและพื้นที่เป็นหนึ่งในการตัดสินใจสำคัญที่สุดในการดำเนินงาน แต่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่ดินหรือตำแหน่งที่เราเลือกเหมาะกับการตั้งโกดังสินค้าหรือโรงงาน? วันนี้มาทำความรู้จักหลักการการวางผังเมืองและการแบ่งสีโซนที่ดินในประเทศไทย โดยเมื่อรู้แล้วคุณจะมีข้อได้เปรียบและโอกาสในการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น 

1. การวางผังเมืองและการแบ่งโซนสีที่ดินในประเทศไทยคืออะไร

ก่อนอื่นเลย การวางผังเมืองเป็นหนึ่งในรากฐานของการบริหารพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่อยู่ภายใต้การดูแลและพัฒนาโดยรัฐบาล ผ่านหน่วยงาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย โดยผังเมืองนั้นจะเป็นจุดรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ต่างๆ เช่น แผนที่เมือง การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง รวมไปถึงนโยบายที่กำกับ ควบคุม และดูแลการใช้ที่ดินในพื้นที่ต่าง ๆ อันเป็นข้อกฎหมายสำหรับกรุงเทพฯและประเทศไทย การวางผังเมืองนี้เป็นเสมือนการวางโครงสร้างการพัฒนาเมืองเพื่อการพัฒนาที่ดินในอนาคตอีกด้วย เช่น การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ การวางเส้นทางขนส่งสาธารณะใหม่ การดูแลผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ นอกเหนือจากนั้นทางรัฐบาลไทยเองได้จัดทำเครื่องมือการแบ่งโซนที่ดินด้วยสีต่างๆ เพื่อเป็นการแบ่งพื้นที่เพื่อการใช้สอยอย่างเหมาะสมและเป็นเครื่องมือสำหรับเหล่านักประกอบการและนักธุรกิจได้เข้าใจถึงที่ดินของตนเองเพื่อการตัดสินใจและการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามกฎระเบียบของประเทศไทย

2. ผังเมืองประเทศไทยถูกแบ่งโซนเป็นอย่างไรบ้าง?

ทำความรู้จักผังเมืองและการแบ่งโซนสีที่ดินในประเทศไทย

ในการแบ่งโซนสีที่ดินในประเทศไทยนั้น ทางรัฐบาลไทยได้จำแนกโซนการใช้สอยที่ดินไว้ทั้งหมด 13 สี โดยมีความหมายแตกต่างกันไป ดังนี้:

  1. เขตสีม่วง - ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
  2. เขตสีม่วงอ่อน - ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะกิจ         
  3. เขตสีเม็ดมะปราง - ที่ดินประเภทคลังสินค้า
  4. เขตสีแดง - ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม
  5. เขตสีน้ำตาล - ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
  6. เขตสีส้ม - ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
  7. เขตสีเหลือง - ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
  8. เขตสีน้ำเงิน - ที่ดินประเภทสถาบันราชการ กราสาธารณูปโภคและสาธารณุปการ
  9. เขตสีเขียว - ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
  10. เขตสีเขียวมะกอก - ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา
  11. เขตสีขาวมีกรอบและเส้นทะแยงสีเขียว - ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
  12. เขตสีน้ำตาลอ่อน - ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรมไทย
  13. เขตสีเทา - ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา

โดยสรุปแล้วการแบ่งสีโซนที่ดิน สามารถดูลักษณะเฉดสีที่ใกล้เคียงกันย่อมหมายถึงที่ดินประเภทเดียวกันได้อีกด้วย อย่างเช่น เฉดที่ดินเขตสีม่วงจะกำกับขอบเขตการใช้ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า เฉดสีแดงหมายถึงที่ดินประเภทพาณิชยกรรม และเฉดสีเหลืองส้มจะหลายถึงที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย ส่วนที่ดินเขตสีน้ำเงินคือหน่วยงานและที่ดินของรัฐบาล เขตที่ดินสีเขียวสื่อถึงพื้นที่เชิงเกษตรกรรมและการอนุรักษ์ และสีเฉพาะอื่นๆที่สื่อถึงพื้นที่ใช้สอยเฉพาะทาง โดยทุกคนสามารถอ่านและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของผังเมืองและการแบ่งสีโซนที่ดินได้ คลิกที่นี่

ถ้าคุณกำลังมองหาพื้นที่โกดังหรือโรงงานในขนาด 300-30,000 ตารางเมตรในประเทศไทยเพื่อการเช่าในการดำเนินธุรกิจแล้ว สามารถติดต่อพวกเราได้ เรา.


แบ่งปันบทความนี้

Compare listings

เปรียบเทียบ